ที่มาคำว่า Thumb drive
Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย
ที่มาคำว่า Flash Drive
Flash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว
ที่มาคำว่า Handy drive
Handy drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย
การเลือกซื้อ Flashdrive
ตัวบอดี้ และการออกแบบในส่วนต่างๆ
ต้องให้ความสำคัญกันหน่อย เพราะอาจ ไม่สามารถเสียบเข้ากับ USB พอร์ตได้ เพราะหากมันอ้วนเกินไป เวลาเสี่ยบ อาจไปติดกับสายเมาส์ หรือสายคีย์บอร์ด
ดังนั้นการพิจารณาในเรื่องของการออกแบบนี้โดยต้องดูกันตั้งแต่วัสดุที่ใช้กันเลยครับ ส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกนั่นแหละ บางยี่ห้อก็ดีหน่อยบีบๆ แล้วรู้สึกแข็งดี บางยี่ห้อบีบแล้วมันงอๆ ได้ แต่ก็ราคาถูกกว่า นอกจากนี้ตรงอินเทอร์เฟส (หัวเชื่อมต่อ)ของไดรฟ์มีวัสดุที่ปิดเอาไว้หรือไม่ บางยี่ห้อก็มีให้เป็นพลาสติกใสๆ บางยี่ห้อก็จะเป็นสีเดียวกับตัวไดรฟ์เลย ควรดูด้วยครับว่า ปิดแน่นสนิท หรือว่าหลุดง่ายหรือไม่ ฝาปิดตรงนี้ค่อนข้างสำคัญครับ เพราะถ้าคุณสังเกตให้ดีตรงหัวสำหรับเชื่อมต่อ มันจะมีร่องอยู่ด้านในด้วย ถ้าอะไรหลุดเข้าไปติดคงสร้างความเสียหายให้กับไดรฟ์ได้ไม่น้อย เผลอๆ จะลามไปถึงเจ้าพีซี หรือโน้ตบุ๊กที่คุณใช้อยู่ด้วยครับ ซึ่งมีหลายๆ ยี่ห้อ เขาก็ออกแบบฝาปิดแบบ ให้หายได้ยากหน่อย คือ มีจุดเชื่อมกับตัวไดรฟ์เอาไว้เลย ป้องกันการหายได้
USB 1.1 หรือ USB 2.0
การเชื่อมต่อแบบ USB ณ วันนี้จะแบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชันครับ ซึ่งผู้ใช้หลายๆ ท่านมักจะมองข้ามไปเสมอบางท่านก็ไม่ได้สนใจเลยว่ามันจะคืออะไร
การเชื่อมต่อผ่าน USB 1.1 จะทำได้ที่ความเร็ว 12 เมกะบิตต่อวินาที
ส่วน USB 2.0 ทำความเร็วได้มากถึง 480 เมกะบิตต่อวินาที (คำนวณออกมาแล้ว USB 2.0 จะเร็วกว่าถึง 40 เท่า)
ไดรเวอร์ และระบบปฏิบัติการที่รองรับ
ความสะดวกของไดรฟ์ประเภทนี้ก็คือ เสียบกับพอร์ต USB แล้วสามารถใช้งานได้เลย ไม่ต้องมาติดตั้งไดรเวอร์ให้เสียเวลา ซึ่งระบบปฏิบัติการที่รองรับกับแฟลชไดรฟ์แบบเสียบแล้วใช้งานได้เลยมีอยู่หลายๆ ตัวด้วยกันครับ เช่น Windows ME/2000/XP, Mac. OS 8.6 , Linux Kernel 2.4.0 เป็นต้นครับ ส่วนคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าๆ อย่าง Windows 98 , 98SE จำพวกนี้ต้องติดตั้งไดรเวอร์กันก่อน ใครใช้ระบบปฏิบัติการเก่าๆ อาจจะไม่สะดวกนัก แต่ก็ยังมีทางเลือกถ้าหากอยากใช้แฟลชไดรฟ์ สำหรับไดรเวอร์ที่มีมาให้ก็มักจะแถมมากับตัวไดรฟ์นั่นแหละครับ แต่ปัจจุบัน OS ใหม่ ๆ ก็จะรู้จัก Drive พวกนี้กันแทบทั้งนั้นแล้วล่ะครับ
การป้องกันการเขียน
ปัจจุบัน มีน้อยมากที่จะมีมาให้ครับ(สงสัยจะลดต้นทุน) ขนาดมันก็จะเล็กๆ หน้าที่ของมันก็คือ ป้องกันการลบและใส่ข้อมูลลงไปในไดรฟ์ ปุ่มนี้สำคัญกับคนที่มักจะหลงลืมชอบลบนั่นลบนี้เป็นประจำ แต่อย่าลืมเลื่อนปุ่มไปในตำแหน่งป้องกันการเขียนก็แล้วกัน มิเช่นนั้น อะไรก็ช่วยคุณไม่ได้
และที่สำคัญ ก็คือจะช่วยป้องกันไวรัส เข้ามาที่ drive ของคุณเวลาไปเสียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์แปลกหน้า(เวลาไปส่งงาน หรือนำเสนอ)
สำหรับปุ่มนี้ เนื่องจากมันมีขนาดเล็ก อาจจะไม่ค่อยสะดวกต่อการใช้งานมากนัก และอาจจะเลื่อนค่อนข้างลำบาก แต่บางยี่ห้อเขาทำมาก็ค่อนข้างใช้ได้เลยครับ ตำแหน่งมันพอเหมาะพอดี และเลื่อนไปมาได้สะดวก ยังไงลองไปเลื่อนดูนะครับ แต่อย่าเลื่อนแรงหล่ะ มันหักง่ายนะครับ
ไฟแสดงสถานะการทำงาน
ไฟนี้จะคอยแสดงการทำงานของตัวไดรฟ์ให้ทราบครับ เช่น เมื่อเราเชื่อมต่อเข้ากับพีซีแล้วไฟแสดงสถานะจะติดสว่าง และถ้ามีการอ่าน-เขียนข้อมูลไฟแสดงสถานะก็จะกระพริบ แต่ละยี่ห้อก็จะใช้ไฟแสดงสถานะนี้สีต่างๆ กันไป โดยประโยชน์หลักๆ จากไฟตัวนี้ ทำให้เราทราบว่าไดรฟ์สามารถทำงานได้อย่างปกติทั้งการเชื่อมต่อการอ่าน-เขียน ถึงแม้ว่าเราจะถูกจากหน้าจอได้ แต่ถ้าดูที่ไดรฟ์ได้ด้วยก็จะดีกว่าครับ
ฟีเจอร์เสริมเพิ่มเติมอื่นๆ
สำหรับฟีเจอร์ที่ผู้ผลิตหลายรายใส่เพิ่มเติมเข้ามา ก็มีหลายๆ อย่างด้วยกันครับ อย่างเช่น ตัวไดรฟ์สามารถบูตเครื่องไดรฟ์ ระบบเข้ารหัสข้อมูล ระบบป้องกันข้อมูลด้วยรหัสผ่าน เป็นต้น ซึ่งความสามารถต่างๆ เหล่านี้ ผมว่ามีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะแฟลชไดรฟ์ที่สามารถบูตเครื่องได้ เพราะบางครั้งระบบปฏิบัติการในเครื่องอาจจะมีปัญหา การที่บูตเครื่องได้ ก็ยังสามารถเข้าสู่ฮาร์ดดิสก์เพื่อดึงข้อมูลออกมาใช้งานได้ในกรณี ที่เร่งด่วนจำเป็นอย่างมาก สำหรับคนที่มีข้อมูลๆ สำคัญๆ การป้องกันด้วยรหัสผ่านอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นการเข้ารหัสข้อมูลจะเป็นทางเลือกที่ทางที่จะป้องกันข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุดครับ ยังไงฟีเจอร์ต่างๆ เหล่านี้ เขาใส่มากับตัวไดรฟ์อยู่แล้ว แถมบางรุ่นราคาก็ยังเท่ากับไดรฟ์ที่ไม่มีฟีเจอร์เหล่านี้
ซอฟต์แวร์ยูทิลีตี้
นอกจากไดรเวอร์ที่มีมาให้แล้ว ส่วนใหญ่จะมีซอฟต์แวร์มาให้ด้วยครับ ซอฟต์แวร์ต่างๆ เหล่านี้ จะมาทำหน้าที่ในการจัดการไดรฟ์ให้ใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การกำหนดรหัสผ่าน การกำหนการเข้ารหัสข้อมูล การฟอร์แมตไดรฟ์ การจัดการป้องกันไดรฟ์ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นไดรฟ์ที่มีความสามารถอื่นๆ ร่วมด้วย ก็อาจจะใส่ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาจัดการความสามารถนั่นๆ เพิ่มเติมมาให้ เช่น โปรแกรมแปลงออดิโอซีดีเป็นไฟล์เอ็มพี สาม ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการเรื่องการ บันทึกเสียง เป็นต้น
การรับประกัน
การรับประกันทั่วๆ ไป อยู่ที่ 1 ปี พร้อมเงื่อนไขอีกมากมาย ลองอ่านสักหน่อยจะได้ไม่เสีย ผลประโยชน์
และถ้าข้อมูลของคุณสำคัญ ก็จัดการแบ็กอัพเก็บไว้ที่อื่น ๆ ด้วย ก็จะดีที่สุด ของแบบนี้ไว้ใจกันไม่ค่อยได้
ข้อมูลจาก http://www.webthaidd.com/flashdrive/webthaidd_article_451_1.html
http://www.webthaidd.com/flashdrive/webthaidd_article_898_1.html
วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)